สถิติผู้เข้าชมตั้งแต่ 31 ตุลาคม 48
ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์


  • ประวัติตำบลกระดังงา


    ราว พ.ศ. 800- 1100 ได้มีการรวมกลุ่มของหมู่ชนตามลักษณะสังคมมนุษย์ต่อมาได้พัฒนาเป็นชุมชนในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ในสมัยนั้นคาบสมุทรสทิงพระมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากจึงทำให้เกิดชุมชนต่างๆ มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วคาบสมุทรสทิงพระ เช่นชุมชนจะทิ้งพระ ชุมชนบ้านกระดังงา ชุมชนบ้านบ่อกุด ชุมชนบ้านพังสาย ชุมชนบ้านพังเถียะ และชุมชนอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับชุมชนกระดังงา ตามประวัติเดิมในสมัยโบราณจะนิยมเรียกตำบลตามชื่อวัดในชุมชนสมัยนั้น
    คือวัดซังดานและเรียกเพี้ยนเรื่อยๆ มาเป็นวัดซังกระดาน วัดสีเสา วัดพังตำเสา วัดดานนา (จากพงศาวดารเล่ม 8 บันทึกของ มร.ลูลาแบร์ ชาวโปรตุเกต พ.ศ.2112) หมายความว่าทุ่งนา เป็นพรุน้ำขังตลอดทั้งปี
     
     ซึ่งมีการสร้างสะพานไม้ที่ข้ามพรุจากบ้านท่าโพธิ์ถึงบ้านพังตำเสา โดยในวัดพังตำเสานั้นมีต้นกระดังงาอยู่มากมาย แต่ตามพงศาวดารที่อ้างถึงยังเรียกว่าบ้านดานนา เรียกตามสะพานไม้ดังกล่าว ซึ่งเป็นการเรียกขานตามผู้สัญจรทางเรือในสมัยนั้น แต่เมื่อนานเข้าการเรียกเพี้ยนจากเดิม จากบ้านดานนามาเป็นบ้านดังงา เพื่อให้สอดคล้องกับวัดที่มีต้นกระดังงาและเพี้ยนจากวัดบ้านดังงามาเป็นวัดกระดังงาจนปัจจุบัน ซึ่งปรากฏอยู่ในบัญชีชื่อวัดของเมืองสงขลา สำรวจเมื่อ พ.ศ.2435
    ต่อมาชุมชนจะทิ้งพระมีความเจริญมากกว่าชุมชนอื่น ได้พัฒนาตัวเองเป็นเมืองจะทิ้งพระและมีแคว้นต่างๆ รอบเมืองจะทิ้งพระ โดยมีเมืองจะทิ้งพระเป็นศูนย์กลางหนึ่งในชุมชนนั้นมีชุมชนบ้านกระดังงาเป็นชุมชนรอบเมืองจะทิ้งพระด้วย


    ดาวน์โหลดรายละเอียดเพิ่มเติม
  • วิสัยทัศน์ อบต.กระดังงา

    เมืองแห่งการเรียนรู้ คู่หลักเศรษฐกิจพอเพียง
    ร้อยเรียงความสามัคคี วิถีประมงยั่งยืน

      พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
           1.
    พัฒนาระบบสาธารณูปโภค ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ
           2.
    พัฒนาระบบการศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
           3.
    จัดให้มีและบำรุงการกีฬา นันทนาการ และการท่องเที่ยว
           4.
    ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของราษฎร
           5.
    จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
           6.
    ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม และความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน

      จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
          1.
    การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ มีความสะดวก รวมเร็ว ไฟฟ้า และแสงสว่างทั่วถึง
          2.
    ให้ประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร
          3.
    ยกระดับคุณภาพการศึกษา ของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง รวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนมี
    คุณธรรม จริยธรรม

          4.
    ให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ออกกำลังกาย เล่นกีฬา โดยมีลานกีฬาในหมู่บ้าน
    หรือสนามเด็กเล่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ

          5.
    ให้ประชาชน มีความรู้ ในการป้องกัน และระงับโรคติดต่อ รวมทั้งการป้องกันและแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด
          6.
    ส่งเสริมให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
          7.
    จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
          8.
    ส่งเสริมและสนับสนุนหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย